งานบริการคลินิก

ตารางการให้บริการคลินิกอาชีวเวชกรรม

วันเปิดบริการเช้า (08.30-12.00 น.)บ่าย (13.00-16.30 น.)
จันทร์
พุธ
ศุกร์
บริการคลินิกโรคจากการทำงาน
ตรวจสุขภาพ
ตรวจตามความเสี่ยง
รับสงต่อ และรับปรึกษา
โรคจากการทำงาน
หรือเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน
อังคาร
พฤหัสบดี
ให้บริการตรวจสุขภาพตามระบบนัด หรือออกหน่วยบริการเชิงรุกให้บริการตรวจสุขภาพตามระบบนัด หรือออกหน่วยบริการเชิงรุก

1. งานบริการด้านคลินิกอาชีวเวชกรรม

  • ตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อม
  • ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • ตรวจประเมินสมรรถภาพในการทำงาน
  • ตรวจสุขภาพและประเมินความพร้อมก่อนกลับเข้าทำงาน
  • รับปรึกษาด้านการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยโรคจากการทำงานโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์
  • ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน เช่น การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น สมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพปอด โดยพยาบาลอาชีวอนามัย

2. งานตรวจสุขภาพเชิงรุก

  • ให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจตามปัจจัยเสี่ยงเชิงรุก
  • ประเมินสมรรถภาพคนทำงานโดยการตรวจด้วยเครื่องมืออาชีวเวชศาสตร์
  • วิเคราะห์ข้อมูลและแจ้งผลการตรวจสุขภาพและการตรวจตามปัจจัยเสี่ยง

ติดต่องานตรวจสุขภาพเชิงรุก Email: [email protected]

3. งานสร้างเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพวัยทำงาน

  • วิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพรายบุคคล-รายกลุ่ม
  • สร้างรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • สร้างเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวัยทำงาน
  • สร้างแนวทางและผลิตสื่อเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
  • ประเมินและติดตามผู้ป่วยเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนกลับเข้าทำงาน
  • ให้คำแนะนำ ปรึกษา สร้างเครือข่ายการจัดการดูแลเพื่อให้กลับเข้าทำงาน

4. งานอาชีวป้องกันและควบคุมโรค

  • เดินสำรวจสถานประกอบการ เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน (Walk Through Survey)
  • ตรวจวัดและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบการ
  • การป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ
  • การสอบสวน วิเคราะห์สาเหตุการเกิดโรคจากการทำงานและหาแนวทางการแก้ไข

5. งานอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล

  • ประเมินปัจจัยเสี่ยง และลักษณะงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ตรวจและประเมินสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
  • ออกแบบการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงของลักษณะงาน
  • สร้างระบบคุณภาพและแก้ไขสภาพแวดล้อมการทำงาน
  • สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล
  • เฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล
  • สร้างเสริมสุขภาพ สร้างพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการทำงาน

6. งานพิษวิทยาและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม

  • ประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เสี่ยง
  • ออกแบบและพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพตามความเสี่ยงของชุมชน
  • จัดบริการเฝ้าระวังสุขภาพเชิงรุก และเชิงรับ
  • ผลิตและกระจายสื่อความรู้ในเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพ ให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
  • สร้างภาคีเครือข่าย และการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
  • สอบสวนโรคจากสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
  • จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลความเสี่ยงและข้อมูลสุขภาพ
  • เตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสารเคมี และผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม