คือ “ศูนย์กลาง” ในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบกิจการที่ครอบคลุมทุกความเสี่ยงตามแนวคิด สุขภาพองค์รวม (Total worker health) เพื่อให้คนทำงานมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง จิตใจที่เป็นสุข
วัตถุประสงค์
“ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ” เกิด “ศูนย์กลาง” ในการให้คำปรึกษา และดูแล ส่งเสริมสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกมิติ (สุขภาพแบบองค์รวม : Total worker health)
ให้กับลูกจ้างในสถานประกอบการ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์
เกิดการบูรณาการการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค ระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขส่วนกลาง และ พื้นที่ รวมถึง การบูรณาการระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
เกิดกลไก (Platform) การเชื่อมโยงการดำเนินงานในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ ระหว่าง สถานประกอบการ กับ หน่วยบริการสาธารณสุขจนนำไปสู่การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในองค์กรที่ยั่งยืน
ทำแล้วจะได้อะไร
1. ค้นหาความเสี่ยง + ข้อมูลสุขภาพที่มีอยู่แล้ว
2. เกิดการวิเคราะห์ข้อมูล
3. Intervention/Innovation
4. เกิดการวัดผลลัพธ์ที่ชัดเจน
ทำ “ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน” เกิดผลอย่างไร
1. ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ “สร้าง….นำ….ซ่อม”
2. ลดการลาป่วย/ขาดงาน/ลางาน
3. สร้างขวัญกำลังใจคนทำงาน/ลูกจ้าง
4. ลดการย้าย /ลาออก
5. ลดการประสบอันตรายจากการทำงาน
6. ผลผลิตสูงขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย
ประชากรวัยทำงาน (15 -59 ปี) ทำงานในสถานประกอบการ ที่ยัง ไม่ป่วย กลุ่มเฝ้าระวัง หรือกลุ่มเสี่ยง ของโรควัยทำงาน แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ วัยทำงานตอนต้น วัยกลาง และวัยก่อนเกษียณ/วัยทอง ซึ่งอาจมีชุดกิจกรรมที่จำเพาะแตกต่างกันในบางรายการ
ขั้นต้นของกิจกรรมการดำเนินงาน
“ศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ”
- 1. Establish committee
มีการจัดตั้งทีมงาน หรือ ผู้รับผิดชอบฯ ดำเนินงาน
2. Assessment
ทีมงานนำสถานการณ์ทางสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในทุกด้าน (กาย และใจ) มาประเมินและวิเคราะห์ หากพบความเสี่ยงให้ประเมินเฉพาะด้านต่อ
3. Screening
คัดกรองความเสี่ยงด้านต่างๆ
– ด้านโรคจากการประกอบอาชีพ
– ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
– ด้านโรคติดต่อ
– ด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
– ด้านสุขภาพช่องปาก
– ด้านสุขภาพจิต ฯลฯ
- Summary and Planning
สรุปข้อมูล และ วางแผนการดูแล สุขภาพที่จำเพาะแต่ละบุคคล - Intervention
ให้คำปรึกษา/จัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญ ประสานส่งต่อกับหน่วยบริการ สาธารณสุข ในกรณีที่มีปัญหาเฉพาะ และ
มี Return to work management - Monitoring
ติดตามผล และมีการบันทึกภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
https://www.cgtoolbook.com/books011/2/ (10 PACKAGES)
การติดตาม ประเมินผล และเชิดชูเกียรติ
การติดตาม : สำนักส่วนกลาง สำนักงานป้องกันควบคุมโรค โรงพยาบาล สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานประกันสังคมร่วมติดตาม การดำเนินงานในพื้นที่ (ภายใต้การ MOU 9 หน่วยงาน)
การเชิดชูเกียรติ : รางวัล Best Practice ระดับประเทศ “ต้นแบบศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานในสถานประกอบการ”
รูปแบบการประเมินผล : 1) ยื่นผลการดำเนินงานผ่านระบบ Online 2) ทีมประเมินผลตรวจเยี่ยมในพื้นที่
(เฉพาะสถานประกอบการที่ผ่านตามเกณฑ์การพิจารณา)
หากสถานประกอบการสนใจต้องทำอย่างไร ??
แจ้งความประสงค์ไปยัง
(1) Wellness Center ของโรงพยาบาลปทุมธานี 02-598-8885
(2) สำนักงานป้องกันควบคุมโรค
(3) ระบบสมัครออนไลน์บน Website กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
Wellness Center
ของหน่วยบริการสาธารณสุข หรือสำนักงานป้องกันควบคุมโรค
“แนะนาพร้อมให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง”
ติดต่อสอบถามข้อมูล
นางสาว วราภรณ์ ใบพรม
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลปทุมธานี
กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม
โทรศัพท์ 02-598-8885 (สำนักงาน)
02-598-8812 (OPD)